อัปเดต "ทางหลวงเชื่อมเมือง" สร้างสายพิเศษใหม่อีก 3 เส้นทาง
1.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (M9) สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน- บางบัวทอง- บางปะอิน ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตรเชื่อมระหว่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แล้วเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 (M81) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (M6) สายบางปะอิน-นครราชสีมา
โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 2 ช่วง
สนพ. คาดแนวโน้มพลังงาน ปี'66 เพิ่ม 2.8% จากเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว โต
ค้าปลีกไทยไตรมาส 1/66 กำลังซื้อไม่ฟื้น มาตรการของรัฐ 'แรงกระตุ้นไม่พอ'
ช่วงแรก ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน – บางบัวทอง เป็นการก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ตามแนวถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก หรือถนนกาญจนาภิเษก
โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 วงแหวนกาญจนาภิเษก ด้านทิศใต้ โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 (M82) สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว
โครงการทางพิเศษพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน และมีจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดตัดทางแยกต่างระดับบางบัวทอง เชื่อมต่อโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางบัวทอง – บางปะอิน รวมระยะทางประมาณ 35.9 กิโลเมตร
วงเงินลงทุนก่อสร้าง 56,035 ล้านบาท คาดว่าเริ่มก่อสร้างโครงการในปี 2568-2570 และเปิดบริการในปี 2571
ช่วงสอง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางบัวทอง – บางปะอิน ปรับปรุงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกเดิม ให้เป็นทางหลวงพิเศษระดับพื้นดินขนาด 6 ช่องจราจร โดยจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณ กม. 36 (ปัจจุบัน คือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ประมาณ กม. 50) บริเวณทางแยกต่างระดับบางบัวทอง เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน- บางบัวทอง ไปสิ้นสุดที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน สามารถเชื่อมต่อไปยังทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 ได้ โดยมีระยะทางรวมประมาณ 34.1 กิโลเมตร วงเงินลงทุนก่อสร้าง 15,260 ล้านบาทคาดว่าสามารถเริ่มการก่อสร้างในปี 2568
2. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน (M5)เมื่อแล้วเสร็จโครงการจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต
เป็นการเป็นการก่อสร้างทางยกระดับช่วงรังสิต – บางปะอิน บนเกาะกลางถนนพหลโยธิน ขนาด 6 ช่องจราจร โดยมีการควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ ปลายทางยกระดับอุตราภิมุขปัจจุบัน ที่ประมาณ กม. 34 ของถนนพหลโยธิน และสิ้นสุดที่ประมาณ กม. 52 ของถนนพหลโยธิน บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน รวมถึงก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมโยงทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา ระยะทางรวมทั้งสิ้นประมาณ 22 กิโลเมตร
วงเงินค่าลงทุนก่อสร้าง 31,358 ล้านบาท จะก่อสร้างโครงการในปี 2568-2570 และเปิดบริการในปี 2571
3. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 (M8) สายนครปฐม-ชะอำ ช่วงนครปฐม-ปากท่อ
รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศ แบ่งเบาการจราจรจากทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) และทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม2) และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางสู่ภาคใต้
เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทางรวมประมาณ 109 กิโลเมตร โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือช่วงนครปฐม-ปากท่อ และ ช่วงปากท่อ-ชะอำ
โดยจะดำเนินการก่อสร้าง ช่วงนครปฐม-ปากท่อ ก่อน จุดเริ่มต้นโครงการต่อเชื่อมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่บริเวณทางแยกต่างระดับนครชัยศรี รวมถึงมีเส้นทางเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 (ปิ่นเกล้า – นครชัยศรี) บริเวณจุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) แนวเส้นทางโครงการมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ไปสิ้นสุดบริเวณ กม. 73 ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทางประมาณ 61 กิโลเมตร เป็นการก่อสร้างทางหลวงพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร วงเงินลงทุนก่อสร้างรวม 29,156 ล้านบาทคำพูดจาก เกมสล็อตเว็บแท้